ประวัติ…
… … หนองสะเน่ามีเรื่องเล่ากันสืบต่อมาว่า ในสมัยที่พระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัยนั้น มีขุนลัวะผู้หนึ่งนามว่า วิลังคราช เป็นใหญ่ในหมู่ลัวะทั้งหลาย มีถิ่นฐานอยู่ที่เขาใหญ่ ติดต่อกับดอยสุเทพ ขุนวิลังคราช ได้มีจิตปฏิพัทธ์ในพระนางจามเทวีแต่พระนางไม่เสน่หาด้วย ขุนวิลังคราชจึงโกรธยกกองทัพมาประชิดพระนคร ขุนวิลังคราชผู้นี้มีวิชาอาคมมาก ได้พุ่งหอกมาตกตรงบริเวณหนองสะเหน้า ทำให้เกิดดินยุบกลายเป็นหนองสะเหน้า พระนางจามเทวีจึงได้ให้พระโอรสทั้งสองของพระองค์ยกทัพออกไปขับไล่ และได้ให้พระโอรสทรงพระเศวตคชาธาร คือภู่ก่ำงาเขียวไปออกศึก ด้วยฤทธิ์แห่งประกายงาของพระเศวต บรรดาลให้ไพร่พลข้าศึกหน้ามืดตามัว หวั่นไหวแตกทัพพ่ายสิ้น พระเศวตคชาธาร ภู่ก่ำงาเขียว คือช้างเผือกงาดำ ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของพระนางจามเทวี เรื่องของภู่ก่ำงาเขียวนี้ยังมีหลักฐานจนถึงทุกวันนี้คือมีกู่หรือเจดีย์อยู่ คือกู่ช้าง ตามตำนานบอกไว้ว่าเป็นที่ฝังศพของพระยาช้า งสารภู่ก่ำงาเขียว ซึ่งเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระนางจามเทวี และเคยเป็นพาหนะทรงของพระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ ออกศึกปราบขุนวิลังคะ พอข้าศึกเห็นปลายงาของภู่ก่ำงาเขียวมีรัศมีดังดวงไฟ ก็พากันแตกตื่นหลบหนีไปสิ้น เมื่อภู่ก่ำงาเขียวตายแล้ว กล่าวกันว่า ถ้าจะเอาศพพระยาช้างนี้ไปฝัง ถ้าฝังเอาหัวหรือปลายงาไปทางทิศใดแล้ว ผู้ที่อยู่ในทิศนั้นจะล้มตายได้ความลำบาก จึงจัดเอาสรีระร่างของช้างสารนี้นั่งลงให้ชูงาขึ้นไปในอากาศ แล้วก่ออิฐโบกปูนเป็นวงรอบตัวช้างขึ้นไป กู่ช้างนี้ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร … …
พระลบกรุหนองสะเหน้า ลำพูน
฿2,500.00
พระลบกรุหนองสะเหน้า ลำพูน พบบริเวณหนองสะเหน้า (หนองจามเทวี) อยู่ไม่ไกลกับวัดมหาวันมากนัก มีซากพระอารามหักพังจมดินอยู่ ได้ขุดพบพระลบเป็นจำนวนมากพระลบที่ขุดได้มีสองพิมพ์ พิมพ์ฐานสูง และพิมพ์ฐานต่ำ และยังแยกย่อยไปอีกหลายพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ฐานชั้นเดียว ฐานสองชั้น ฐานสามชั้น พิมพ์สามง่าม พิมพ์ตัวหนังสือจีน เนื้อพระจะหยาบ ๆ ฝ่อ ๆ เป็นเม็ดเล็ก ๆ ไม่แน่น มีแร่ มีทรายเงินเล็กน้อย พิมพ์จะ ตื้น-สึก เพราะจมดินแช่ในหนองน้ำมานานเป็นร้อยปี พระจึงไม่ค่อยสวย สึก ๆ ตื้น ๆ คนเก่าแก่ก็เลยเรียกว่า “พระลบ” มาจากคำว่า “ลบเลือน” องค์ที่นำมาเสนอเป็นพิมพ์ใหญ่ อยู่ในเกณฑ์ (พอสวย) ขนาด 1.8 x 2.8 ซม. 2,500.- บาทครับ.