“พระกรุวัดสามปลื้ม” ลักษณะเนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผงเนื้อละเอียด สีขาว แก่น้ำมันตั้งอิ้ว มีลักษณะยุ่ยฟู แตกเปราะ และหักง่าย พระที่พบส่วนใหญ่จึงแตกหักต้องซ่อมทั้งสิ้น หาองค์สวยสมบูรณ์ค่อนข้างยาก และพระเกือบทั้งหมดลงรักปิดทองมาจากกรุ นอกจากนี้ยังมีผู้พบเห็นชนิดผงดำผสมใบลานเผา, เนื้อตะกั่ว และเนื้อชิน แต่มีจำนวนน้อยมาก พระกรุวัดสามปลื้ม เป็นพระศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ ทั้งสมาธิเพชร และสมาธิราบ เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง นอกจากนี้ยังมากมายหลายพิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม และกลีบบัว, เกศแหลม และไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่า “เศียรโล้น” และยังทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่ที่เป็นที่นิยมกันในแวดวงพระเครื่องมีพระพิมพ์กลีบบัว (เศียรโล้น), พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรแหลม), พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม, พระพิมพ์บัวฟันปลา, พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ และพระพิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก พระกรุวัดสามปลื้มทุกพิมพ์ ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศ ทั้งคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ในคราวเกิด “สงครามมหาเอเชียบูรพา” ปี 2485-2488 พระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตร ได้นำ “พระกรุวัดสามปลื้ม” ประมาณหนึ่งหมื่นองค์ แจกจ่ายตามกระทรวง ทบวง กรม ทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ปรากฏว่าทหารที่ออกรบ ปืนยิงไม่เข้า เมื่อถึงคราวประจัญบาน. !!!
รายละเอียด
ประวัติ พระผงวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) กทม.
พระผงวัดสามปลื้ม สร้างในสมัยของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มีพุทธลักษณะแบบศิลปอยุธยา สร้างไว้หลายแบบหลายขนาด
ในอดีตกาล นานมาแล้ว มีคณะกุฏิ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด โดยมีอาณาเขตติดต่อกับถนนสำเพ็ง ทิศตะวันออกจรดบริเวณพระพุทธปรางค์ทิศใต้ติดศาลาดิน (เดิม) ซึ่ง บริเวณข้างคณะกุฏินี้เอง มีเจดีย์เก่า เรียงอยู่หลายองค์
พอมาในสมัยของพระพุฒาจารย์ (มา) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ทำการรื้อพระเจดีย์เก่า แล้วพบวัตถุมงคลอื่น ๆ อีกมากมาย โดยสร้างตึกแถว อาคารพาณิชย์ ขึ้นแทนในบริเวณที่ว่างดังกล่าว เพื่อหาผลประโยชน์บำรุงวัดและพระภิกษุสามเณรในวัด
จากการรื้อถอนพระเจดีย์เก่าครั้งนี้ ไม่ได้รื้อถอนไปทั้งหมด ยังคงเหลือไว้อีก 1 องค์ ซึ่งยอดบนตรงคอระฆังหัก พื้นองค์เป็นที่ลุ่ม มีน้ำขังอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวมีลูกศิษย์ ในคณะกุฏิ ได้เก็บพระเครื่องได้จำนวนหนึ่ง และลูกศิษย์ท่านนี้ ได้นำพระไปแลก เพื่อนำไปซื้อขนมมารับประทาน ในราคาองค์ละ 25 สตางค์
การพบพระพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2463 พระคุณาจารวัตร (ใช สุวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสขณะนั้น ดำรงสมณศักดิ์เป็น พระครูมงคลวิจิตร ได้ทำการรื้อพระเจดีย์เก่าที่ชำรุดองค์นั้น การรื้อคราวนี้ พบพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวจำนวนมาก ได้ทั้งหมด 4 ปี๊บ แล้วได้นำไปเก็บไว้ที่บนลานพระพุทธบาท การพบพระพิมพ์ในครั้งนี้ ยังพบ พระพุทธรูปทองเหลือง พระบูชาทำด้วยไม้ ครั่งบุด้วยเงิน กับสมุดคัมภีร์ต่างๆ จำนวนมาก ภายหลังปรากฎว่า มีพระเหลืออยู่แค่ 2 ปี๊บ ด้วยเหตุนี้ ท่านพระครูมงคลวิจิตร ได้คัดเลือกเอาเฉพาะองค์ที่สมบูรณ์คัดเก็บรักษาไว้ โดยได้รวบรวมกับพระพุทธรูปทองเหลือง ทำด้วยไม้ ครั่ง บุเงิน กับคัมภีร์ต่าง ๆ ในปีพ.ศ. 2465
การพบพระพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปีพ.ศ. 2483 ในสมัยพระคุณาจารวัตร เป็นเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสรูปที่ 10 ท่านพระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตร ได้ให้มีการขยายถนนเดิม ทางเดินจากประตูด้านถนนสำเพ็งสู่วัดซึ่งอยู่ระหว่างพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก กับ พระพุทธปรางค์ด้านทิศตะวันออก ให้กว้างกว่าเดิม ซึ่งการขยายในครั้งนี้ ได้ทำการย้ายศาลเจ้าพ่อบดินทร์ จากเดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ มาอยู่ที่ใหม่ทางทิศใต้แทน ทำให้ท่านเจ้าคุณพระคุณาจารวัตร รื้อพระเจดีย์เก่า ซึ่งทรุดโทรมอีก 3 องค์ด้วย แล้วนำไปสร้างใหม่ทางด้านทิศปัจฉิม ทดแทนองค์เดิม จากการรื้อถอนพระเจดีย์ในครั้งนี้ โดยพระเจดีย์องค์แรก ได้พบ พระพิมพ์เนื้อผงสีขาว แบบสี่เหลี่ยม คล้ายกับพระพิมพ์ของสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) จำนวน 80 องค์ จากการรื้อพระเจดีย์องค์ที่ 2 พบใบลานจารึกอักษรขอม พระพุทธรูปทองเหลืองแบบพระบูชา กับพระทำด้วยไม้ ครึ่งบุด้วยเงินบุทอง จากการรื้อพระเจดีย์องค์ที่ 3 พบพระพิมพ์แบบต่างๆ
1. พระพุทธรูปทองเหลือง แบบพระบูชา
2. พระบัวเข็ม
3. พระทำด้วยไม้ ครั่งบุเงินบุทอง
4. พระเงินขนาดเล็ก หนัก 1 บาทบ้าง 2 บาทบ้าง
5. พระพุทธรูปทองคำ
6. แหวนทองคำหนวดกุ้ง
7. แหวนนาค
8. ใบลานจารึกเป็นภาษาบาลี
9. ตะกรุดโลหะ ชนิดต่างๆ อาทิ ตะกั่ว ทองแดง แต่ละชนิดมีหลายขนาด แต่ละอันยาวประมาณ 1 คืบเศษ
10. พระหลวงพ่อโต ซึ่งปรากฏว่าเป็นพระที่ขึ้นที่วัดเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) แต่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด มีอยู่จำนวนน้อย
จากพระพิมพ์ที่พบ ได้แบ่งพระพิมพ์ได้ 3 ชนิดคือ
1. พระพิมพ์ชนิดผงดำ มี อยู่ 5 แบบ คือ
1.1 แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
1.2 แบบกลีบบัว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
1.3 แบบห้าเหลี่ยม ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
1.4 แบบกลีบบัว เศียรโล้น ฐานผ้าทิพย์ มีขนาดเดียว
1.5 แบบสามเหลี่ยม หน้าจั่ว ฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีขนาดเดียว
2.พระพิพม์ชนิดโลหะ มี 6 แบบ คือ
2.1 แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
2.2 แบบห้าเหลี่ยม ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
2.3 แบบกลีบบัว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
2.4 แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานบัวคว่ำบัวหงาย
2.5 แบบเศียรโล้น ฐานผ้าทิพย์ มีขนาดเดียว
2.6 แบบซุ้มคูหา ฐานผ้าทิพย์
3. พระพิพม์ชนิดผงขาว มีทั้งหมด 22 แบบ (จากหนังสือประวัติพระพิมพ์ วัดจักรวรรดิราชาวาส พระครูประสิทธิสมณการ ผู้เรียบเรียง)
3.1 แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
3.2 แบบกลีบบัว ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
3.3 แบบห้าเหลี่ยม ฐานผ้าทิพย์ มี 5 ขนาด
3.4 แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีขนาดเดียว
3.5 แบบกลีบบัวเศียรโล้น ฐานผ้าทิพย์ มีขนาดเดียว
3.6 แบบดอกบัวบาน มีอักษรจารึกอยู่ตรงเกสร มี 3 ขนาด
3.7 แบบพระยืนมีดังนี้
3.7.1 ปางเสด็จจากดาวดึงส์
3.7.2 โมคัลลาน์-สารีบุตร
3.7.3 ปางลีลา
3.8 แบบทรงมณฑปพระพุทธบาท มี 3 ขนาด
3.9 แบบทรงเจดีย์ มี 3 ขนาด
3.10 แบบพระนพเคราะห์ มี 9 แบบ คือ
3.10.1 พระถวายเนตร วันอาทิตย์
3.10.2 พระห้ามญาติ วันจันทร์
3.10.3 พระไสยาสน์ วันอังคาร
3.10.4 พระอุ้มบาตร วันพุธ
3.10.5 พระนั่งขัดสมาธิ วันพฤหัสบดี
3.10.6 พระรำพึง วันศุกร์
3.10.7 พระนาคปรก วันเสาร์
3.10.8 พระป่าเลไลย์ พระราหู (พุธกลางคืน)
3.10.9 พระมารวิชัย พระเกตุ
3.11 แบบปรุหนัง ฐานผ้าทิพย์ มีขนาดเดียว
3.12 แบบหลวงพ่อโต
จากการพบพระพิมพ์ต่างๆ ในคราวนี้ รวมได้ประมาณ ห้าหมื่นองค์ ในคราวเกิดสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส พระส่วนหนึ่งประมาณ หนึ่งหมื่นกว่าองค์ พระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตร ได้นำมา แจกจ่ายไปตามกระทรวง ทบวงกรม และทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ และ พระภิกษุสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้อยากได้ไว้สัการะบูชาทั่วไป จนหมดสิ้นในเวลาต่อมา อานุภาพและปาฎิหารย์ ในช่วงปีพ.ศ. 2485 – 2488 ประเทศไทยเกิดสงครามกับประเทศอังกฤษ และอเมริกาที่เรียกว่า สงครามมหาเอเซียบูรพา ทหารที่ออกรบ ปืนยิงไม่เข้า เมื่อถึงคราวประจันบานโดยใช้ดาบปลายปืนฝรั่งแทงทหารไทยไม่เข้า ทหารไทยโดนปืนยิงล้มลงไปแล้ว ก็ลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้อีก จนได้ขนานนามว่า ทหารผี