พระมเหศวรพิมพ์สองหน้าเนื้อดินเผา หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี สภาพสวยไม่ผ่านการใช้ บางท่านเข้าใจว่าเป็นพระกรุเก่า ขึ้นมาพร้อมกับเนื้อชิน ส่งด่วน 1,500.- บาทประกันแท้ครับ.
*** คัดลอกประวัติการสร้างพระของท่านมาเผยแผ่ครับ ***
— หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์ บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย. ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีแดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระพุทธชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์พระมเหศวร พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ส่วนพระพิมพ์อื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลาย ๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุก ๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้น ๆ
พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อย ๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน…สวัสดี.
พระมเหศวรหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี
฿1,500.00
พระมเหศวรพิมพ์สองหน้าเนื้อดินเผา หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี สภาพสวยไม่ผ่านการใช้ บางท่านเข้าใจว่าเป็นพระกรุเก่า ขึ้นมาพร้อมกับเนื้อชิน ส่งด่วน 1,500.- บาทประกันแท้ครับ.
*** คัดลอกประวัติการสร้างพระของท่านมาเผยแผ่ครับ ***
— หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์ บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย. ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีแดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระพุทธชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์พระมเหศวร พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ส่วนพระพิมพ์อื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลาย ๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุก ๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้น ๆ
พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อย ๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน…สวัสดี.