แม่นางกวักสี่เหลี่ยมปี 2496
ลักษณะของพระพิมพ์นี้ ด้านหน้าจะเป็นสุภาพสตรี มือด้านขวายกขึ้นกวัก มือด้านซ้ายวางไว้กับอาสนะที่นั่ง ด้านหลังปั๊มยันต์บ้าง ไม่ได้ปั๊มยันต์เป็นหลังเรียบบ้าง
แม่นางกวักสี่เหลี่ยม แยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ที่มีกระเดือก และพิมพ์ที่ไม่มีกระเดือก วิธีการแยกระหว่างพระ 2 พิมพ์นี้คือ พิมพ์ที่มีกระเดือกจะมีเม็ดคล้ายกระเดือกเป็นจุดที่บริเวณคอ และมือด้านซ้ายที่วางเรียบกับอาสนะจะกระดกยกขึ้น ส่วนพิมพ์ที่ไม่ทีกระเดือกจะไม่มีเม็ดดังที่กล่าวมาบริเวณคอและมือซ้ายที่วางเรียบกับอาสนะจะวางเรียบไม่กระดกยกขึ้น
ด้านหลังมี 2 แบบ คือแบบที่มียันต์และไม่มียันต์ แบบที่มียันต์ มี 3 ยันต์ คือ ยันต์นะ ยันต์สาริกาและยันต์นะชาลีติเนื้อของพระเท่าที่พบเจอตอนนี้มี 3 เนื้อ คือเนื้อว่านสบู่เลือด เนื้อผง และเนื้อดิน (เนื้อดินจะเป็นพระหลังเรียบทั้งหมด)
ปกติพระพิมพ์อื่น หลังยันต์นะจะแพงกว่ายันต์สาริกาเล็กน้อย แต่พระแม่นางกวักกลับตรงกันข้าม หลังยันต์สาริกาแพงกว่าหลังยันต์นะมาก เนื่องจากแม่นางกวักสี่เหลี่ยมนี้ องค์มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงทำให้ปั๊มยันต์สาริกาได้ลำบาก ส่วนมากจะมีแต่หลังยันต์นะ จึงทำให้แม่นางกวักหลังยันต์สาริกามีน้อยมาก ราคาจึงแพงกว่าหลังยันต์นะ ส่วนหลังยันต์นะชาลีติก็แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ นะชาลีติตัวใหญ่ และนะชาลีติตัวเล็ก ซึ่งเป็นพระปี 2496 ทั้งสิ้น ยันต์ทั้ง 3 แบบนี้มีปั๊มหลังพระทั้ง 2 พิมพ์ คือพิมพ์มีกระเดือกและไม่มีกระเดือก ส่วนแม่นางกวักที่เป็นหลังเรียบ ก็มีทั้งพิมพ์มีกระเดือกและไม่มีกระเดือกเช่นกัน
ที่สำคัญ พระแม่นางกวักมีการสร้างในปีถัดมาอีกด้วย คือปี 2502 และปี 2508 หากเป็นพระหลังยันต์ก็ไม่มีปัญหาเพราะมียันต์บังคับอยู่ แต่หากเป็นพระหลังเรียบจะต้องพิจารณาอย่างอื่นแทนยันต์ เช่นพิมพ์ของพระ (พระปี 2496 ปี
2502 ปี2508 เมื่อนำมาเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นคนละพิมพ์กันชัดเจน) พระปี 2496 องค์พระจะล่ำบึก ลอนผมของแม่นางกวักจะติดชัด ส่วนพระปี 2502 องค์พระจะเล็กลง รายละเอียดเส้นสายจะไม่คมลึกเหมือนพระปี 2496 ยิ่งพระปี 2508 องค์พระเล็กกว่าปี 2496 อย่างชัดเจน อีกทั้งเนื้อหามวลสารของพระก็ต่างกัน พระปี 2496 เนื้อหาจะหนึกนุ่ม ไม่มีเม็ดดำในเนื้อ ส่วนพระปี 2502 และปี 2508 เนื้อหาค่อนข้างขาวมันวาว มีเม็ดดำในเนื้อเป็นจำนวนมาก นี่คือวิธีการสังเกตเบื้องต้นครับ
ของเก๊เลียนแบบมีหลายฝีมือ และที่น่ากลัวคือมีงานเก๊ออกมาดีมาก เป็นพิมพ์ไม่มีกระเดือก หลังยันต์นะ ซึ่งเหมือนมาก แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วจะแตกต่างจากพระแท้อยู่มาก
พระพิมพ์ที่มีกระเดือกจะแพงกว่าพระที่ไม่มีกระเดือก ยิ่งเป็นพระเนื้อว่านสบู่เลือดยิ่งแพงขึ้นไปอีก พระว่านสบู่เลือด สวย ๆ หลักแสน ส่วนพระเนื้อผงพิมพ์มีพระเดือก เล่นหากันหลักหมื่นกลางถึงหมื่นปลาย (กล่าวถึงเฉพาะยันต์นะ แต่หากเป็นยันต์สาริกา ไม่ว่าพิมพ์มีกระเดือกหรือไม่มีกระเดือกเล่นหากันหลักแสน) ส่วนพระนางกวักหลังยันต์นะชาลีติ เล่นหากันราวๆ 2-3 หมื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยความสวยสมบูรณ์ของพระด้วย พระหลังเรียบหลักพันปลายถึงหลักหมื่นต้นในพระพิมพ์ที่มีกระเดือก ส่วนพระพิมพ์ไม่มีกระเดือกหลังเรียบหลักพันกลางถึงพันปลาย (พระปี 2502 และปี 2508 ถูกกว่าพระปี 2496 ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ)
แม่นางกวักปี 2496 หลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
฿500.00
แม่นางกวักเนื้อผงหลังเรียบหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ รุ่นสร้างพระเจดีย์ปี 2495-2496 หลวงปู่เผือกท่านสร้างเพื่อแจกญาติโยมที่บริจาคทรัพย์ ร่วมสร้างพระเจดีย์ แม่นางกวักที่สร้างช่วงแรก ๆ ด้านหลังจะไม่มียันต์ ต่อมากรรมการวัด (ผู้ใหญ่เพิ่ม) ได้ตัดไม้โมกมอบให้หลวงปู่สุข แกะเป็นตัวยันต์นำมาปั๊มด้านหลัง มีด้วยกัน 4 แบบคือ.- ยันต์ ฤ-ฤา, ยันต์สาริกา, ยันต์นะ, ยันต์นะชาลิติ นางกวักรุ่นนี้ จึงมีทั้งมียันต์ และไม่มียันต์ สร้างทั้งเนื้อผง เนื้อดินและว่านสบู่เลือด (เนื้อดินจะไม่มียันต์หลัง) มวลสารในการสร้าง….หลวงปู่เผือกนำผงพุทธคุณที่สร้างพระรุ่นขุดสระ รุ่นอินโดจีน และผงที่ท่านทำขึ้นใหม่มาผสมเป็นมวลสารในการสร้าง โดยพระและเณรกดพิมพ์กันในวัด พุทธคุณเด่นทาง เมตตามหาเสน่ห์ มหานิยม ค้าขายและแคล้วคลาดปลอดภัย องค์ที่นำมาเสนอนี้เนื้อผงหลังเรียบสภาพสมบูรณ์หย่อนสวย ขนาด 1.5 × 2.3 ซม. พิมพ์ไม่มีลูกกะเดือก 500.- บาทครับ.